วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รู้จักกับ Solid State Drive (SSD)

รู้จักกับ Solid State Drive (SSD)
  SSD (Solid State Drive) เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการประยุกต์ใช้ Flash Memory มาทำเป็น Harddisk ประโยชน์ที่ได้รับที่เห็นกันอยู่ ก็จะพบว่า ความไวในการ เข้าถึงข้อมูลจะทำได้ไวกว่า Harddisk ที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดซึ่งเป็น Harddisk แบบที่ใช้จานแม่เหล็ก ที่เวลาเข้าถึงข้อมูลจะต้องให้ Harddisk หมุนไปแล้วจึงหาสืบค้นข้อมูลที่ถูกเก็บใน harddisk ได้ โดยวิธีนี้ทำให้ เกิดความร้อนขึ้น ในตัวของ Harddisk เอง ยิ่งมีความไวของมอเตอร์ ที่ใช้ในการหมุนตัว จานแม่เหล็กมากเท่าไรก็จะ ทำให้ มีความร้อนสูงมากขึ้นด้วย ดังนั้นการออกแบบจึงต้องมีการเพิ่ม พื้นที่ในการระบายความร้อนให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการทำงานของ  Server ได้   การพัฒนาเทคโนโลยีของ  Harddisk นั้นก็ พัฒนา มาหลายปี แต่ยังคงเป็นเทคโนโลยี่ที่ใช้มอเตอร์และจานแม่เหล็ก จนถึงปัจจุบันได้มีการ พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้โดยการนำ  meomory หรือ การนำ Solid State มาทำเป็น  Harddisk ด้วยเหตุผลที่ว่า การเข้าถึงข้อมูล การเขียนข้อมูล ลงไปบนตัว Harddisk  การคำนึงถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบนตัว Harddisk เสียงที่เกิดจากการหมุนของมอเตอร์บนตัว Harddisk  
          อนาคต ไม่เกินปีหน้า ร้านที่ใช้ no HDD หรือ Diskless ทุก ๆ ร้าน จะใช้ SSD ทั้งหมด เหตุผลไม่ยากเลยครับ ร้านเดิม ใช้ HDD ร้านเปิดใหม่ ใช้ SSD เร็วกว่าแรงกว่า HDD แน่นอน ร้านเดิม ก็จำเป็นต้องอัพตาม ไม่งั้นก็แข่งขันกันไม่ทัน เพราะ SSD มันลื่นกว่า ไวกว่า เล่นแล้วลื่นไหล ถึงแม้จะมีหลาย ๆ เครื่อง ก็ยังไม่หน่วง

                                          
          การทำงานของมันก็คือ Memory แบบ Flash เมื่อมีการอ่านหรือ เขียนข้อมูล ก็จะยังจดจำข้อมูลที่มีการ Update ครั้งสุดท้ายไว้ได้ ซึ่งจะแตกต่างกับ RAM (Random Access Memory) ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อเราปิดเครื่องหรือ ไม่มีแหล่งจ่ายไฟเลื้ยงตัวอุปกรณ์ ข้อมูลที่บรรจุอยู่ด้านในก็จะหายไปด้วย แต่ Flash Memory ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อเราทำการ เขียนข้อมูลลงไปที่ Flash Memory แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้สูญหายไปไหน ยังคงเก็บเอาไว้ เหมือนต้นฉบับทุกประการ ดังนั้นจึงมีคนนำเทคโนโลยี่นี้มาต่อยอด และพัฒนา มาเป็น Solid State Drive (SSD) ในที่สุด ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับ Harddisk จานแม่เหล็ก เพราะใช้ Flash เป็นตัว จัดเก็บข้อมุล ดูจากรูป จะเห็นชัดเจน

เปรียบเทียบการทำงานโดยใช้ Windows XP Service Pack 2


จากรูปเป็นการเปรียบเทียบการเขียนข้อมูล


 จากรูปเป็นการเปรียบเทียบ Battery

ข้อดีและข้อเสียของ Solid State Drive (SSD)
1. ลักษณะการทำงานเหมือน flash drive คือมีหน่วยความจำข้างใน ไม่มีไฟเลี้ยงข้อมูลก็ไม่หาย
2. ความจุไม่ใหญ่เท่า Harddisk โดยที่มีขายในตลาดตอนนี้ 120GB ก็มีราคาหลัก หมื่นบาท ในขณะที่ Harddisk 500 GB ราคาประมาณ 1100 บาทเท่านั้น
3. อ่าน/เขียนข้อมูลได้รวดเร็ว โดยขณะนี้ตัวที่ขายในท้องตลาดทำความเร็วได้มากกว่า Harddisk ประมาณ 2.5 เท่า
4. เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว เนื่องจากว่าข้อมูลที่เก็บมีการกระจายตัวเก็ฐที่ตำแหน่งต่างๆบนพื้นที่ ดังนั้นการเข้าถึงข้อมูลที่ต่างตำแหน่งกันต้องใช้เวลา ตอนนี้ ทำความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่า Harddisk ประมาณ 10 เท่า
5. โดยรวมแล้ว การใช้ SSD ทำงานแทน Harddisk จะเพิ่มความเร็วได้ถึง 25เท่า!! (ทางทฤษฏี)
6. ใช้ไฟน้อยกว่า ทั้งเวลาทำงาน และหยุดพัก
7. ขนาดเล็กกว่า
8. ร้อนน้อยกว่า

          ดูผ่านๆก็จะเห็นว่าข้อดีเพียบ เว้นข้อเดียวคือเรื่องราคา ถึงแม้ว่ามันจะน้อยไม่สะใจ แต่ถ้าเราเอามาใช้เพียงติดตั้ง program และ ระบบ ปฏิบัติการเท่านั้นก็น่าจะทำให้เราใช้งานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นด้วย แล้วข้อมูลต่างๆ เช่น หนัง เพลง ฯลฯ ก็เก็บใส่ Harddisk แทน
          แต่ ว่า ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีที่ใช้มาก็คือการเขียนข้อมูลลง chip นั้น ข้อเสียของมันก็คือจำนวนครั้งในการเขียน เพราะว่า chip เหล่านี้มีข้อจำกัดการเขียนโดยปกติเพียงแค่ 1000 ครั้งเท่านั้น แต่เมื่อถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ก็ได้เพิ่มมาเป็น หมื่น และเป็นแสนครั้งตามลำดับ ทำให้เรามี flash drive ที่ดีๆทนๆใช้กันในทุกวันนี้ รวมไปถึงเจ้า SSD ด้วย เพราะว่างานของ SSD กลับไม่ใช่แค่การเก็บข้อมูลที่นานๆใช้ทีเหมือน flash drive แต่มันกลับเป็นหัวใจการทำงานของคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้ ดังนั้นแล้วปัญกาเรื่องข้อจำกัดในการเขียนก็เลยส่งผลกระทบโดยตรงต่ออายุการ ทำงานของ SSD นั่นเอง ถึงแม้ว่าโดยเฉลี่ย SSD จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ล้านชั่วโมงก็ตาม แต่หากเราเอามาเขียนข้อมูลหนักๆ มากๆ ถี่ๆ ก็จะลดอายุการทำงานลงไปมาก ถ้าซวยไปเจอของไม่ดี บางทีเสียได้ใน 1 เดือนเลยก็มี

          แต่ก็อย่าพึ่งตกใจไป เพราะว่ามันก็ไม่ได้น้อยอย่างที่น่าวิตก เพราะว่าหากเราคำนวนออกมา ก็จะพบว่ามันมีอายุการใช้งานจริงที่ 1-100 ปีขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าหนักมากหรือเปล่า โดยหากการใช้งานตามที่เราใช้ตามปกติ ก็น่าจะมีอายุการใช้งานที่10ปี (6ชั่วโมงต่อวัน) หรืออย่างแย่ๆ ก็น่าจะ 5 ปีได้ โดยมีการคำนวนว่า หากมีการเขียนเป็นจำนวน 2 ล้านครั้ง ด้วยความเร็ว 80 MB/s ในพื้นที่ความจุ 64 GB เราจะใช้เวลา 51ปี จนกระทั่งมันเสียหมด แต่ว่าถ้าเอาตามความจริง ใช้ได้ถึง 10 ก็น่าจะคุ้มราคาค่าตัวแล้วล่ะครับ

          โดยสรุปแล้ว ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องที่น่าห่วง กับปริมาณการเขียน แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจไป แต่หลายคนถึงกับขนาดว่าย้าย log file , swap ไปไว้ที่อื่นที่ไม่ใช่ SSD ผมว่ามันคงยังไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ เพราะว่าเราก็อ่านเขียนบ้างไม่ได้มากมายหรอก ลองดูเวลาที่เราใช้คอมพิวเตอร์ตามปกติก็ได้ครับ Harddisk ไม่ได้ติดตลอดเวลาหรอก หรือติดตลอดเวลามันก็ไม่ได้เขียนทุกครั้งไปอย่างแน่นอน เพียงแต่เราได้รู้ข้อจำกัด และเลี่ยงการกระทำเสี่ยงเท่านั้นก็เพียงพอครับ

สำหรับ ตัวเลขขนาดนี้ ก็ถือว่าน่าจะเป็นกังวลเหมือนกัน กับงานระดับ server เพราะว่ามันจะมีการเขียนค่อนข้างมากอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอาจจะส่งผลให้การทำงานลดต่ำลงได้ แต่ถ้าเราสามารถควบคุมให้เหลือแต่เพียงการอ่านได้ หรือให้เขียนน้อยที่สุดแล้วล่ะก็ จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

          สำหรับตัวผมเอง หากมีโอกาสประกอบคอมใหม่ ก็จะเลือก SSD มาเป็นหลักและ Harddisk มาเป็นรอง โดยเอา SSD มาติดตั้ง program ต่างๆ รวมทั้ง windows ด้วยส่วน Harddisk ที่มีความจุเยอะก็ใช้เก็บข้อมูลไปครับ เท่านี้ก็น่าจะช่วยเสริมความเร็วเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมากแล้ว
สรุปของ Solid State Drive(SSD)
          Harddisk แบบ SSD ที่แตกต่างจาก Harddisk แบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน (แบบจานแม่เหล็กและมอเตอร์หมุน) ที่ทำให้เกิดทั้งเสียงรบกวน ความร้อน และยังใช้พลังงานเยอะ ไปเป็นลักษณะการทำงานเหมือนกับ Flash Drive คือจะไม่มีส่วนที่เป็น Machanic เลย การอ่าน เขียนข้อมูลทั้งหมดจะทำงานผ่านไฟฟ้า ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น ช่วยลดปัญหาคอขวด หรือที่เรียกว่าจุดที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ช้าที่สุด ความร้อนน้อยลง (ถึงระดับแทบไม่มีความร้อนออกมาเลย) และประหยัดพลังงานมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็มีข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างแพง และขนาดความจุยังน้อยอยู่เมื่อเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน เหมาะกับงานที่เน้นการอ่านข้อมูล

SSD กับความปลอดภัยในการลบข้อมูล ไม่ง่ายอย่างที่คิด

          เก็บตกจากสัมมนา File and Storage Technologies เมือง San Jose นักวิจัยแคลิฟอร์เนียได้ให้ข้อมูลถึงผลกระทบจากการทดสอบถึงความปลอดภัยในการ ล้างข้อมูลบน Solid State Disks (SSDs)
Michael Wei, Laura M. Grupp, Frederick E. Spada and Steven Swanson ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานดิเอโกได้ข้อสรุปที่น่าสนใจหลาย ประการดังนี้
- คำสั่งมาตรฐาน ATA และ SCSI ที่ใช้ในการลบข้อมูลแบบกู้คืนไม่ได้อีกเลย “ERASE UNIT” พบว่ามีเพียง 8 รุ่นที่ใช้คำสั่งนี้ได้จากที่ทดสอบ SSD จำนวน 12 รุ่น และมีเพียง 4 รุ่นเท่านั้นที่ทำการลบข้อมูลได้สำเร็จ
- การเขียนข้อมูลทับหลายๆ ครั้งก็สามารถทำลายข้อมูลได้เช่นกัน แต่ก็ใช้เวลานานกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไปที่เป็นแบบแผ่นแม่เหล็ก (เนื่องจาก Firmware Translation Layer หรือ FTL) มีความซับซ้อนกว่า คงไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสมสำหรับองค์กรที่ต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมากไว้บน ฮาร์ดดิสก์แบบ Solid State Drives
- การลบข้อมูลที่บันทึกอยู่บนฮาร์ดดิสก์แบบ SSDs ใช้วิธีการลบแถบแม่เหล็กนั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากวิธีการจัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ของ SSD ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า flash chips
- ไดร์ฟส่วนใหญ่สามารถป้องกันข้อมูลด้วยการเข้ารหัสไว้, ดิสก์นั้นสามารถรักษาความปลอดภัยได้ด้วยการลบคีย์ในการเข้ารหัสจาก Key Storage Area (KSA) หลังจากนั้นก็รันซอฟท์แวร์ที่ใช้ล้างดิสก์ไดร์ฟตามมาตรฐาน DoD
ภาพตัวอย่างตารางเปรียบเทียบซอฟท์แวรที่ใช้จัดการลบข้อมูล

          โดยสรุป ก็คือว่า การล้างข้อมูลที่เก็บไว้ใน harddisk แบบ SSD ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด สามารถกู้ หรือดึงขึ้นมาได้อีก ดังนั้น การถอดเอาไปใช้เครื่องอื่น หรือการเอาไปให้คนอื่นใช้ หรือการเอาไปซ่อม มีโอกาสเสี่ยงที่ข้อมูลของเราจะถูกดึงเอาไปได้
          ในทางกลับกันจากข้อมูลข้างต้นก็คงไม่ได้ทำให้หลายคนปฏิเสธว่ามันไม่ปลอดภัย ก็เลยไม่อยากที่จะใช้ฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูง SSD เพราะจุดเด่นของฮาร์ดดิสก์แบบ SSD นี้ ก็มีหลายอย่างเช่น ความร้อนน้อย เพราะไม่ได้ใช้จานหมุนแบบเก่า กินพลังงานน้อยทำให้ใช้คอมได้นานขึ้น เร็วกว่า 2-3 เท่า
ที่มา http://1750.asiasoft.co.th/support/index.php/Knowledgebase/Article/View/757/223/solid-state-drive-ssd

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น