วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีเลือกซื้อกล้องดิจิตอล

                                                        ภาพประกอบ
 
  1. งบประมาณ ก่อนอื่นต้องมาดูกันว่า คุณจะตั้งงบไว้สักเท่าใด ในการหาซื้อกล้อง ดิจิตอลสักตัว เพราะราคาในตลาดมีตั้งแต่กล้องแบบง่ายๆ ราคาไม่กี่พันบาท ซึ่งทำ อะไรไม่ได้มากนัก ที่พอใช้ได้จะเริ่มจากหมื่นต้นๆ ไล่เรียงลำดับไปตามสเปค และ คุณภาพที่ดีขึ้น จนถึงหลักแสนหรือหลายๆ แสน เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น สองหมื่นบาท ก็มองหาเฉพาะกล้องที่อยู่ในงบของเรา รุ่นที่มีราคาสูงกว่า คงไม่ต้องนำมาพิจารณา ให้ปวดหัว


     
  2. เซ็นเซอร์ภาพ ถ้าดูตามสเปคมักจะ เขียนว่า Image sensor หรือ Image recording พูดง่ายๆ ก็คือ อุปกรณ์ ที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั่นเอง บางยี่ห้อใช้ CMOS แต่ส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดใช้ CCD ขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่ใหญ่กว่าย่อมได้เปรียบ เพราะเก็บรายละเอียดได้มาก แต่ราคาก็แพงกว่า อาจจะดูจากสเปคว่าใช้ CCD ขนาดเท่าใดเช่น 1/1.8 นิ้ว, 1/2.7 นิ้ว หรือ 2/3 นิ้ว (วัดตามแนวทแยงมุม)

     
  3. ความลึกของสี หรือ Bit Depth บางทีก็เรียก Color Depth ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็จะเก็บรายละเอียด ของเฉดสีได้ดีมากขึ้น เช่น 10 บิต/ สี หรือ 12 บิต/สี หมายความว่า สีธรรมชาติ มี 3 สีคือ RGB ถ้า 1 สี แสดงได้ 13 บิต 3 สีก็จะได้ 36 บิต เป็นต้น ถ้าเป็นกล้องระดับไฮเอนด์ อาจจะทำได้ถึง 16 บิต/สี หรือ 48 บิตที่ RGB นั่นก็เทียบเท่ากับฟิล์ม สไลด์ดีๆ นี่เอง แต่ไม่รู้ว่าทำไมมีกล้องบาง ยี่ห้อ บางรุ่นเท่านั้น ที่เปิดเผยว่ากล้องของตัวเอง มีระดับความลึกของสีเท่าใด ยิ่งถ้าเป็นกล้องที่สเปคต่ำเช่น 8 บิต/สี (อันที่จริงก็เยอะแล้ว เพราะ จะได้ 24 บิตที่ RGB แสดงสีได้ 16.7 ล้านเฉดสี) แทบไม่อยากจะพูดถึงกันเลย แต่ถ้ากล้องระดับโปร มักจะโชว์ตัวเลขให้เห็นจะๆ เลยว่าใครได้มากกว่ากัน การที่เฉดสีน้อย จะทำให้การแยกสีไม่ดีเท่าที่ควร เช่น กลีบดอกไม้สีแดงเข้ม แดงปานกลางและแดงอ่อน ดูด้วยตาเปล่า ก็ไล่เฉดสีกันดี แต่ถ่ายออกมากลายเป็นสีแดงสีเดียว ถ้าใช้ฟิล์มสไลด์จะได้ใกล้เคียงกับที่ตาเห็น (สไลด์โปรจะทำได้ดีกว่า)

     
  4. ดูความละเอียดต้องดูที่ Effective เวลาซื้อกล้องดิจิตอล เรามักจะได้ยินคน บอกว่า ตัวนี้ 3 ล้านพิกเซล ตัวนี้ 4 ล้านพิกเซล แต่ส่วนใหญ่ เป็นความละเอียดของเซ็นเซอร์ภาพ ขนาดภาพจริงจะน้อยกว่านั้น ลองดูสเปคในคู่มือ หรือโบรชัวร์ หาคำว่า Effective ซึ่งก็คือขนาดภาพจริงๆ ที่จะได้ เช่น ในโบรชัวร์บอกว่า 5.24 ล้านพิกเซล แต่ตามสเปคระบุชัดว่า ขนาดภาพใหญ่สุดที่ได้คือ 2560 x 1920 พิกเซล ถ้าคูณดูก็จะได้ 4.9 ล้านพิกเซล เป็นต้น

     
  5. Interpolate ในกล้องบางรุ่น ถ้า เราดูที่ขนาดภาพตามสเปค อาจจะแปลกใจ เพราะคูณออกมาแล้ว ได้ความละเอียดมากกว่าเดิมเช่น CCD 3 ล้านพิกเซล แต่ได้ขนาดภาพถึง 6 ล้านพิกเซล ทั้งนี้เป็นเพราะ มีการใช้เทคโนโลยีบางอย่าง เพิ่มความละเอียดให้สูงขึ้นนั่นเอง เช่น Super CCD ของ Fuji หรือ HyPict ของ EPSON เป็น ต้น แต่คุณภาพจะดีไม่เท่ากับความละเอียดแท้ๆ ของ CCD แต่ก็จะดีกว่ากล้องรุ่นที่มีความละเอียดแบบ Effective เท่ากัน อย่างไรก็ตามก็นับว่า เป็นการเพิ่มคุณภาพให้ดีกว่าเดิม โดยใช้เทคโน โลยีมาช่วย ต่างกับการนำภาพ ไปเพิ่มความละเอียด ด้วยซอพท์แวร์เช่น Adobe Photo shop ซึ่งคุณภาพจะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเพิ่มความละเอียดถึง 1 เท่าแบบนี้ วิธีการนี้เรามักจะเรียกกันว่า Interpolate ซึ่งกล้องที่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้ จะมีเมนูให้เลือกว่าจะใช้หรือไม่

     
  6. ปรับลดขนาดภาพ แม้ว่ากล้องที่มี ความละเอียดสูงจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่า ขนาดไฟล์ที่ได้จะใหญ่มาก กินแมมมอรี่ในการ์ดมาก ถ้าการ์ดความจุน้อยๆ เช่น 16 MB ใช้กล้อง 3 ล้านพิกเซล ถ่ายไปไม่กี่ภาพก็เต็มแล้ว ต้องใช้การ์ดที่มีความจุสูงๆ บางครั้งเราต้องการเพียงแค่ บันทึกเตือนความจำ หรือใช้ส่งอีเมล์ หรือไม่ก็ใช้ประกอบเวบไซต์ ซึ่งต้องมาลด ความละเอียด ด้วย Photoshop หรือโปรแกรมอื่นๆ ให้เหลือ แค่ 640 x 480 พิกเซล หรือเล็กกว่านั้น แต่กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ จะเลือกขนาดภาพได้หลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับงาน ที่จะนำไปใช้ เช่นกล้อง Olympus E-20 เลือกขนาดภาพได้ 5 ระดับ เล็กสุดที่ 640 x 480 พิกเซล เป็นต้น

     
  7. การตอบสนองหรือ Response อันนี้ กล้องดิจิตอลเกือบทั้งหมด ไม่ยอมระบุไว้ใน สเปคกล้องของตัวเอง ยกเว้นกล้องคอมแพค ระดับไฮเอนด์ หรือดิจิตอล SLR จะถือว่าเป็นจุดเด่น เอามาคุยไว้ในโบรชัวร์กันเลยครับ บางรุ่นตอบสนองตั้งแต่ เปิดสวิตซ์กล้องแล้ว พร้อมที่จะกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวินาที แทบไม่ต่างกับกล้อง ออโต้โฟกัส 35 มม.ที่ใช้ฟิล์มทีเดียว ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกว่า ใช้กล้องดิจิตอลหรือใช้ฟิล์ม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้มีการพัฒนา ที่ดีขึ้นตามลำดับ ต่อไปกล้องดิจิตอลราคาประหยัด ก็จะมีการตอบสนอง ที่รวดเร็วไม่แพ้กล้องไฮเอนด์ ที่มีราคาแพง

     
  8. Buffer ยิ่งมากยิ่งดี การที่มีบัฟเฟอร์ หรือหน่วยความจำในตัวกล้องมากๆ จะ ช่วยให้การถ่ายภาพ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว กล่าวคือ หลังจากที่เรากดชัตเตอร์ ถ่ายภาพไปแล้ว ข้อมูลภาพ ที่ผ่านอิมเมจโปรเซสซิ่ง จะถูกพักเก็บไว้ก่อนด้วยบัฟเฟอร์ ก่อนที่จะบันทึกลงในการ์ดต่อไป (ขณะบัน ทึกมักใช้ไฟสีเขียวหรือสีแดง กระพริบเตือนให้ทราบ) วิธีนี้ทำให้เราถ่ายภาพต่อไปได้เลย ไม่ต้องรอบันทึกลงการ์ดให้เสร็จเสียก่อน ถ้าบัฟเฟอร์เยอะ ก็จะถ่ายต่อเนื่อง ได้ เร็วและได้หลายๆ ภาพติดต่อกัน เช่น สเปคกล้องระบุว่า ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 3 ภาพต่อวินาที ติดต่อกันรวดเดียว 10 ภาพ หมายถึงว่าถ้าครบ 10 ภาพจะกดชัตเตอร์ต่อไม่ได้ เพราะบัฟเฟอร์เต็มแล้ว ต้องรอให้บันทึกลงการ์ดก่อน เมื่อมีที่ว่างเหลือพอก็จะถ่ายภาพต่อได้อีก โดยไม่ต้องรอให้เก็บภาพ ลงการ์ดครบทั้ง 10 ภาพก่อน และการที่มี บัฟเฟอร์มากเมื่อกดชัตเตอร์ไปแล้ว สามารถเปิดดูภาพซูม ขยายดูส่วนต่างๆ ของภาพหรือลบภาพทิ้งได้ทันที แทบไม่ต้องรออะไรเลย

     
  9. ไฟล์ฟอร์แมท RAW กล้องระดับ ไฮเอนด์ที่มีความละเอียดสูง จะมีฟอร์แมทที่ เรียกว่า RAW ให้เลือกนอกเหนือจาก JPEG หรือ TIFF ทั้งนี้เพราะในฟอร์แมท RAW จะเก็บข้อมูลความลึกของสีได้ดีกว่า เช่นดิจิตอล SLR ของ Nikon รุ่น D1x ในไฟล์ ฟอร์แมท RAW จะได้ 12 บิต/สี แต่ถ้าเป็น JPEG จะเหลือ 8 บิต/สี เป็นต้น และยังมีไฟล์ขนาดเล็กกว่าฟอร์แมท TIFF โดยที่คุณภาพไม่ได้ลดลงเหมือนกัน แต่การเปิดชมภาพ ต้องใช้กับซอพท์แวร์ ที่มาพร้อมกับกล้องเท่านั้น ไม่สามารถเปิดจากโปรแกรม Adobe Photoshop หรือโปรแกรมตกแต่ง ภาพอื่นๆ นอกจากนี้ภาพในฟอร์แมท RAW ยังสามารถปรับแต่ง หรือ แก้ไขภาพ ที่ถ่ายมาไม่ดีให้ดี เหมือนกับการถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง เช่น การปรับภาพให้สว่างหรือมืดลง หรือ การปรับไวท์บาลานซ์ เป็นต้น สำหรับคอม แพคดิจิตอลในปัจจุบันมีหลายรุ่นที่มีฟอร์ แมท RAW เช่น Canon PowerShot G3, Nikon Coolpix 5700 เป็นต้น

     
  10. ไวท์บาลานซ์หรือสมดุลย์แสงขาว ฟังก์ชั่นนี้มีในกล้องดิจิตอลทุกรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาเราจะรู้จัก ไวท์บาลานซ์ในกล้องวีดีโอ ซึ่ง ใช้ CCD รับภาพเช่นกัน ส่วนใหญ่จะมี ระบบปรับไวท์บาลานซ์อัตโนมัติ ทำให้ภาพ ถ่ายมีสีสันถูกต้อง ไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือสภาพแสงอื่นๆ ที่มีอุณหภูมิสีแตกต่างกัน ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์ม ซึ่งสมดุลย์กับแสงกลางวัน ที่มีอุณหภูมิสี 5000-5500 องศาเคลวิน จะได้ภาพที่มีสีถูกต้อง เมื่อถ่ายภาพด้วยแสงกลางวัน หรือ แสงแฟลชเท่านั้น ถ้าอยู่ในที่ร่มอุณหภูมิสีจะสูงภาพจะมีโทนสีฟ้า หรือช่วงเย็นอุณหภูมิสีต่ำ ภาพจะมีโทนสีส้มแดง แต่กล้องดิจิตอล จะให้สีถูกต้องเสมอ และยังมีระบบ Preset ให้ปรับตั้งตามสภาพแสงแบบต่างๆ อีก แต่ละรุ่นเลือกได้ไม่เท่ากัน เช่น แสงดวงอาทิตย์ แสงในที่ร่ม แสงจากไฟฟลูออเรส เซ้นท์ในอาคาร แสงไฟทังสเตน เป็นต้น กล้องบางรุ่น มีระบบถ่ายภาพคร่อมไวท์บาลานซ์ โดยจะถ่ายภาพ 3 หรือ 5 ภาพติดต่อกัน แต่ละภาพ มีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน จากนั้นเลือกเก็บไว้ เฉพาะภาพที่มีโทนสีถูกต้อง สมจริงมากที่สุด หรือจะปรับแก้อุณหภูมิสี ด้วยซอพท์แวร์ที่แถมมา พร้อมกับกล้องก็ได้

     
  11. กล้องคอมแพคดิจิตอลรุ่นเล็ก ราคาประหยัด จะใช้เลนส์เดี่ยว ซูมไม่ได้ เช่น 35 มม. ดีขึ้นมาหน่อยจะซูมได้ 2-3 เท่า เช่น 35-70 มม. หรือ 35-105 มม. เป็นต้น ตัวเลขนี้เป็นการเทียบกับกล้องใช้ฟิล์ม 35 มม. แต่ถ้าดูที่ตัวเลนส์จริงๆ จะระบุตัวเลขน้อยกว่ามาก ทั้งนี้เพราะ CCD ขนาด เล็กกว่าฟิล์มมากนั้นเอง เช่น Minolta Dimage 7i หรือ 7Hi ใช้เลนส์ 7.2-50.8 มม. เทียบเท่ากับ 28-200 มม. ถ้าเป็นเลนส์ซูมที่เริ่มต้นด้วยมุมกว้างมากกว่า จะใช้ประโยชน์ในที่แคบๆ ได้ดีกว่า เช่น เริ่มที่ 28 มม. หรือ 30 มม.

     
  12. ดิจิตอลซูม ลูกเล่นที่มีก็ดีไม่มีก็ ไม่เป็นไร เวลาดูโฆษณา กล้องดิจิตอลว่า ซูมได้มากน้อยแค่ไหน ให้ดูที่ Optical Zoom ซึ่งจะบอกไว้ในสเปค เช่น 3X ก็คือ 3 เท่า นับจากเลนส์ช่วงกว้างสุด เช่น 30-90 มม. และบอกต่อว่ามีดิจิตอลซูม 2X รวมแล้วซูมได้ 6X คือ 30-180 มม. แต่ในความเป็นจริงช่วงซูมที่ดิจิตอลสูงสุด 180 มม. นั้น ขนาดภาพจะเล็กลงด้วย เช่น ความละเอียด 3 ล้านพิกเซล ถ้าซูมที่ดิจิตอลจะเหลือแค่ 1.5 ล้านพิกเซล เป็นต้น ไม่ใช่ว่าซูมได้มากๆ โดยที่ความละเอียดเท่าเดิม หากคุณใช้ Optical ซูม 3 เท่า ถ่ายภาพที่ 3 ล้านพิกเซล แล้วเอารูปมา ครอปหรือตัดส่วนให้เหลือ 1.5 ล้านพิกเซล เท่ากับว่ารูปนั้นถูกถ่ายด้วยเลนส์ซูม 6 เท่าเช่นกัน แต่ถ้าใช้ดิจิตอลซูม ตั้งแต่แรก ก็จะสะดวกขึ้นบ้าง ตรงที่ไม่ต้องมาตัดส่วนภาพทีหลัง และกล้องดิจิตอล บางรุ่น เมื่อใช้ดิจิตอลซูม คุณภาพจะไม่ลดลง (ลดแต่ขนาดภาพ) ต่างกับกล้องวีดีโอ ยิ่งซูมดิจิตอลมากเท่าไหร่ก็หยาบมากขึ้น เพราะเอาภาพที่มีอยู่แล้ว มาขยายใหญ่นั่นเอง แต่บางรุ่นใช้วิธีตัดส่วนภาพแล้วขยายไฟล์ ให้มีขนาดใหญ่เท่าเดิม วิธีนี้คุณภาพ จะลดลงแน่นอน

     
  13. จอมอนิเตอร์ อยากจะเรียกว่า อุปกรณ์เปลืองแบตเตอรี่ เพราะส่วนนี้ใช้ พลังงานจากแบตเตอรี่มาก ขนาดไม่ได้ใช้เปิดจอทิ้งไว้ไม่นาน แบตเตอรี่ที่ซื้อมาใหม่ หรือชาร์จมาเต็มๆ ก็หมดลงอย่างรวดเร็ว กล้องดิจิตอลที่ดี ควรจะปรับความสว่างได้ และแสดงสีได้ถูกต้องตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการสีกับคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ภาพสีเป็นไปอย่างราบรื่นถูกต้องตรงกันมากที่สุด จอมอนิเตอร์ ที่ให้สีผิดเพี้ยน (แม้ว่าภาพจะให้สีถูกต้อง เมื่อเปิดจากคอม พิวเตอร์) จะดูแล้วชวนหงุดหงิดคิดว่า รูปจะออกมาเพี้ยนตามจอ อย่าลืมดูสเปคด้วยว่า มีฟังก์ชั่นซูมภาพที่ถ่ายไปแล้วได้หรือไม่ และซูมขยายภาพได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งมากยิ่งดี ถ้าได้ถึง 100% จะดีที่สุด เพราะเห็นภาพ ได้เต็มๆ ว่าแต่ละจุดคมชัดแค่ไหน ระยะชัดลึกครอบคลุมหมดหรือเปล่า ถ้าไม่ดีจะได้ถ่ายใหม่ กล้องบางรุ่น เช่น Sony DSC-F717 ออกแบบให้พลิกตัวกล้องกับเลนส์ได้ ทำให้สะดวกในการถ่ายภาพมุมสูง หรือ มุมต่ำ บางรุ่นพลิกหมุนได้รอบ เช่น Canon G3 กล้องบางรุ่น ใช้จอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่มาก เช่น 2.5 นิ้ว ในขณะที่ส่วนใหญ่ มีขนาดเพียง 1.5 หรือ 2 นิ้ว ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า บางรุ่นแถมฮูดบังแสงมาให้ด้วย โดยออกแบบเป็น บานพับ เช่น Panasonic DMC-LC5 หรือ Fujifilm FinePix M603 เป็นต้น

     
  14. บันทึกเสียงลงในไฟล์ภาพได้ ลูก เล่นนี้มีเฉพาะในกล้องบางรุ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่ จะบันทึกได้นาน 5-15 วินาที ซึ่งก็พอเพียงกับการเตือนความทรงจำต่างๆ สามารถเปิดฟังก็ได้เ มื่อใช้โหมดเปิดชมภาพ จากจอมอนิเตอร์ หรือ จากคอมพิวเตอร์

     
  15. Optical Viewfinder ในเมื่อการ ดูภาพจากจอมอนิเตอร์สิ้นเปลืองแบตเตอรี่มาก เราก็ควรมาดูภาพจากจอแบบออฟติคัล แทน เพราะใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการซูมให้สัมพันธ์ กับทางยาวโฟกัสของเลนส์ แต่กล้องบางรุ่น ไม่มีช่องมองภาพแบบนี้มาให้ จึงควรดูสเปคให้ดีด้วย ข้อเสียของช่องมองภาพ ออฟติคัล คือ ไม่ได้มองภาพผ่านเลนส์ เวลาถ่ายภาพใกล้ จะเกิดการเหลื่อมล้ำกัน ต้องดูภาพด้านบน ไม่ให้เกินเส้นขีดที่แสดงไว้ ถ้าต้องถ่ายภาพใกล้ ก็อาจใช้วิธีดูภาพ จากจอมอนิเตอร์แทนจะดีกว่า แต่กล้องบางรุ่น จอมอนิเตอร์มีไว้เพื่อดูภาพที่ถ่ายไปแล้ว กับดูเมนูต่างๆ เท่านั้น

     
  16. วีดีโอคลิป กล้องถ่ายภาพนิ่ง ดิจิตอลแบบคอมแพคส่วนใหญ่ ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย รูปแบบคล้ายกับกล้องวีดีโอ แต่มักมีภาพขนาดเล็กมาก เช่น 320 x 240 พิกเซล แต่บางรุ่นเช่น Fuji FinePix S602 หรือรุ่น M603 ถ่ายวีดีโอได้ขนาด 640 x 480 พิกเซล หรือขนาด VGA เท่า กับกล้องวีดีโอทั่วไป บางรุ่นถ่ายภาพเคลื่อน ไหวอย่างเดียว แต่บางรุ่นบันทึกเสียงได้ด้วย ฟอร์แมทภาพมีทั้งแบบ MPEG และ Quick Time โดยถ่ายภาพที่ความเร็ว 10-15 ภาพ/ วินาที ขนาดไฟล์เล็กมาก เหมาะสำหรับ ใช้ส่งภาพไปทางอีเมล์ ภาพที่ได้จะดูกระตุกนิด หน่อย สำหรับรุ่นที่สเปคระบุว่า ถ่ายวีดีโอที่ ความเร็ว 30 เฟรม/วินาที ภาพจะดูนุ่มนวล เป็นธรรมชาติ ไม่ต่างกับกล้องวีดีโอทั่วๆ ไป และส่วนใหญ่จะถ่ายเป็นวีดีโอคลิปสั้นๆ ไม่เกิน 30 หรือ 60 วินาทีต่อครั้ง บางรุ่นถ่าย ภาพได้นานตามจำนวนความจุของการ์ด

     
  17. ระบบโฟกัส กล้องดิจิตอลเกือบ ทุกรุ่นเป็นระบบออโต้โฟกัส ทำงานได้รวด เร็วไม่แตกต่างกันมากนัก บางรุ่นมีจุดโฟกัสเฉพาะตรงกลางภาพ แต่บางรุ่นมี 3 หรือ 5 จุด กระจายอยู่ทั่วทั้งภาพ ไม่ว่าตัวแบบ หรือสิ่งที่ต้องการจะอยู่ในตำแหน่งใด ก็จะ ปรับโฟกัสได้อย่างแม่นยำ โดยกล้องจะเลือกจุดโฟกัสอัตโนมัติ หรือเลือกเองก็ได้ แต่บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้ระบบแมนนวลโฟกัส เพื่อผลพิเศษบางอย่าง ระบบแมนนวลโฟกัส มักจะให้เลือกตัวเลขระบุระยะโฟกัสเอง ซึ่งผิดพลาดได้ง่าย กล้องบางรุ่นมีวงแหวนหมุนปรับโฟกัส จะแม่นยำกว่า คล้ายกับกล้อง SLR นอกจากนี้มีโหมดอินฟินิตี้ (สัญลักษณ์รูปภูเขา) สำหรับการถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ระยะไกล กล้องจะถ่ายภาพได้เร็วขึ้นเพราะไม่ต้องปรับหาโฟกัสอีก และควรพิจารณา ดูโหมดถ่ายภาพมาโครด้วยว่า มีหรือไม่ แม้ว่ากล้องบางรุ่น จะระบุว่าถ่ายได้ใกล้สุดเพียงไม่กี่เซ็นติเมตร แต่เป็นการถ่ายภาพที่ช่วงซูมมุมกว้าง (เหมือนกล้องวีดีโอ) ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ไม่ดี เท่ากับมาโครที่ช่วงเทเล ลองซูมเลนส์ที่ช่วงเทเลดู แล้วถ่ายภาพใกล้ๆ ดูว่าได้มากน้อยแค่ไหน

     
  18. ระบบแฟลช กล้องคอมแพค ดิจิตอลส่วนใหญ่มีแฟลชขนาดเล็กในตัว ทำงานอัตโน มัติ เมื่อแสงน้อยเกินไป และมีระบบแฟลช กับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ทำให้การใช้แฟลช ถ่ายภาพเวลากลางคืน ฉากหลังไม่ดำทึบ หรือระบบสัมพันธ์แฟลช ที่ม่านชัตเตอร์ที่สอง เพื่อการใช้เทคนิคพิเศษถ่ายภาพ เคลื่อนไหว ระบบแฟลชแก้ตาแดง เมื่อใช้ถ่ายภาพคน ในระยะใกล้ แบบตรงๆ แต่จะดีมากถ้าสามารถใช้แฟลชภายนอกได้ ซึ่งกล้องบางรุ่นจากผู้ผลิตกล้องใช้ฟิล์ม เช่น Canon PowerShot G3, Minolta Dimage 7Hiและ Nikon CoolPix 5700 จะมีฮอทชูเสียบแฟลชมาด้วย สำหรับนำแฟลชของกล้อง 35 มม. มาใช้ เป็นการเสริมประสิทธิภาพของกล้องให้สูงมากยิ่งขึ้น

     
  19. ระบบบันทึกภาพ สำหรับฟังก์ ชั่นการถ่ายภาพจะไม่แตกต่างกับกล้องใช้ฟิล์มมากนัก ส่วนใหญ่มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติเป็นหลัก โดยกล้องจะเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงที่เหมาะสม ถ้าแสงน้อยก็จะปรับความไวแสงให้สูงขึ้น (เลือกโหมดความไวแสงที่ออโต้) ทำให้ใช้งานง่าย ถ้าหากคุณมีความรู้เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพ ก็อาจใช้โหมดออโต้ชัตเตอร์ ออโต้รูรับแสง หรือแมนนวล และในระบบอัตโนมัติยังมีฟังก์ชั่นปรับชดเชยแสง กรณีที่ต้องถ่ายภาพย้อนแสง หรือ ภาพที่มีฉากหลังมืดทึบ เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงพอดี นอกจากนี้ยังมี ระบบถ่ายภาพคร่อม โดยกล้องจะถ่ายภาพต่อเนื่อง 3 หรือ 5 ภาพ ในแต่ละภาพ มีค่าแสงที่แตกต่างกัน ตามที่กำหนดไว้ บางรุ่นมีระบบถ่ายภาพซ้อนด้วยเพื่อสร้างสรรค์ ภาพพิเศษบางอย่าง  
  20. ที่มา : http://www.photohutgroup.com/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5.html
  21. ------------------------------------------------------------------------
  22. Digital Camera การเลือกซื้อ กล้องดิจิตอล เลือกซื้อ กล้องดิจิตอลอย่างไรให้โดนใจ

    กล้องถ่ายภาพดิจิตอล หรือ กล้องดิจิตอล Digital Camera นั้นมีหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมาให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้กัน บางยี่ห้อก็เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี บางยี่ห้อก็เป็นแบบ OEM บางยี่ห้อก็มีการนำเข้ามาขายในบ้านเราได้พักหนึ่งแล้วก็หายไป หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็เลยนำยี่ห้อต่างๆ ที่มีอยู่มาให้ดูกัน
    Agfa
    Aiptek
    Archos
    Argus
    Avermedia
    Bell & Howell
    Benq
    Buslink
    Canon
    Casio
    Concord
    Contax
    Cool-Icam
    Creative Labs
    D-link
    Dakota
    DXG
    Epson
    Ezonics
    FUJI
    Gateway
    Hawking
    HP
    IBM
    Intel
    IXLA
    Jazz
    JVC
    Kb Gear
    Kensington
    Kicker
    Kodak
    Konica Minolta
    Kyocera
    Labtec
    LARGAN
    Leica
    Lifeview
    Logitech
    Mattel
    Meade
    MERCURY
    Micro Innovations
    Microtek
    Minox
    Mustek
    Nexian
    Nikon
    Nokia
    Olympus
    Oregon Scientific
    palmOne
    Panasonic
    Pentax
    PictureTel
    Polaroid
    RCA
    Relisys
    Ricoh
    Samsung
    Sanyo
    Sea Life
    Sealife
    Sharp
    Sigma
    Sipix
    SNAP
    Sony
    Sprint
    Toshiba
    Unibrain
    VEO
    Visio
    Visioneer
    Vivitar
    Zoom

    หลายคนอาจจะแปลกใจ โอ้ว...พระเจ้า กล้องดิจิตอล Digital Camera มียี่ห้อมากมายขนาดนี้เลยหรือ ซึ่งก็เป็นความจริงครับ แต่บางยี่ห้อก็ไม่มีจำหน่ายในบ้านเรานะครับ

    กล้องดิจิตอล Digital Camera นั้นเริ่มมีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นและก็ทำการแพรหลายไปยังอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งที่เห็นและรับรู้ได้มากที่สุดก็คือ ในเครื่องโทรศัพท์ แม้ว่าจะมีความละเอียดที่ไม่สูงนักแต่นั่นก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่จะได้มีการพัฒนาความสามารถต่อยอดให้ดีมากยิ่งขึ้น
    มาเข้าเรื่องกล้องดิจิตอลของเราต่อ กล้องดิจิตอล Digital Camera ที่เป็น กล้องดิจิตอล Digital Camera เพรียวนั้นได้รับการพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้นและในอนาคตอาจจะมาแทนกล้องฟิล์มเลยก็ได้ เนื่องจากมีต้นทุนในระยาวที่ต่ำและมีความสะดวกในการใช้งาน กอปรกับสามารถที่จะนำภาพที่ถ่ายไปใช้งานยังส่วนอื่นๆ ได้ทันทีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการส่งอีเมลล์, การนำภาพมาประกอบรายงาน เป็นต้น

    ประเภทของกล้องดิจิตอล

    ตัวอย่างกล้องแบบ Ultra Compact



    Canon Digital IXUS 700
    Casio Exilim EX-Z750 Sony DSC-T7

    ตัวอย่างกล้องแบบคอมแพค (Compact)

    Canon PowerShot A520 Nikon Coolpix 7900 Panasonic DMC-LZ2

    ตัวอย่างกล้องแบบ SLR-Like

    Konica Minolta DiMAGE A200 Nikon Coolpix 8800 Sony DSC-H1

    ตัวอย่างกล้องแบบ Digital SLR ที่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้

    Nikon D70s Canon EOS 350D Olympus E-300
    ก่อนอื่นเรามารู้จักประเภทของกล้องดิจิตอลกัน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กล้องแบบคอมแพค (Compact) เป็นกล้องที่พร้อมใช้แบบสำเร็จรูป ใช้งานได้ง่ายไม่จำเป็นต้องปรับแต่งหรือเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เนื่องจากมีฟังก์ชันให้ใช้ง่ายๆ โดยสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น P/A/S/M หรือ Auto (อัตโนมัติ), Portrait (ถ่ายภาพบุคคล), Landscape (ถ่ายภาพวิว), Sports (ถ่ายภาพกีฬา), Night scene (ถ่ายภาพกลางคืน) เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้งานกล้องดิจิตอล อีกแบบหนึ่งก็คือกล้องแบบดิจิตอล SLR โดยกล้องแบบนี้จะมีลักษณะที่คล้ายกับกล้องฟิล์มก็คือสามารถที่จะถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และมีฟังก์ชันในการใช้งานที่มากกว่ากล้องแบบคอมแพค แต่จะมีข้อดีที่สามารถถ่ายภาพได้ความคมชัดที่ดีกว่า ส่วนในเรื่องของราคานั้นกล้องแบบคอมแพคจะมีราคาที่ถูกกว่ากล้องแบบดิจิตอล SLR

    ในท้องตลาดก็ไม่ได้มีเพียงกล้องแบบคอมแพคและกล้องดิจิตอล SLR เพียงเท่านั้น แต่ยังมีกล้องอีกประเภทที่เข้ามาแทรกตรงกลางระหว่างกล้องแบบ Compact กับกล้องดิจิตอล SLR ซึ่งหลาย ๆ คนมักเรียกกว่ากล้องแบบ Semi-Pro หรือ SLR-like หรือกึ่งมืออาชีพนั่นเอง โดยกล้องประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีหน้าตาเหมือนกับกล้องถ่ายรูปแบบ SLR แต่ว่าเลนส์ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ แต่ว่าเลนส์ที่ใช้จะมีคุณภาพและคุณสมบัติของการใช้งานได้ดีกว่ากล้องแบบคอมแพค ซึ่งกล้องแบบนี้ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะราคาไม่สูงจนเกินไป (อาจจะสูงกว่ากล้องแบบคอมแพคแต่ไม่แพงถึง SLR)

    ดูไรบ้างก่อนซื้อ?
    กล้องดิจิตอลนั้นก็จะมีรายละเอียดหรือคุณสมบัติมากมายในแต่ละตัว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ก็จะเหมือนหรือแตกต่างกันบ้าง เราก็มาดูกันว่ากล้องนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง

    Format (ประเภทของกล้อง)
    ประเภทของกล้องส่วนใหญ่แล้วก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ Compact กับ SLR ส่วนอื่นๆ ก็เป็นรูปแบบที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยใช้การประยุกต์จากกล้องแบบ Compact กับ SLR นั่นก็คือ SLR-like, Compact swivel, Ultra Compact และ Ultra Compact swivel

    Also known as (ชื่อเรียกอื่นๆ)
    กล้องบ้างรุ่นนั้นมีการผลิตขึ้นมาแล้วมีการจำหน่ายในประเทศต่างๆ ก็จะมีการใช้ชื่อที่จำหน่ายในประเทศนั้นๆ ไม่เหมือนกัน แต่เป็นกล้องรุ่นเดียวกัน โดยยี่ห้อที่พบปล่อยที่สุดก็คือ Canon กับ Olympus

    Camera body (วัสดุของตัวกล้อง)
    วัสดุของตัวกล้องนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้กล้องนั้นมีความทนทาน แข็งแรง ซึ่งในการเลือกซื้อนั้นต้องสังเกตจากตรงนี้ด้วย โดยในส่วนนี้กล้องส่วนใหญ่จะทำมาจากแมกนิเซียมอัลลอยด์หรือพลาสติกผสมหรือ กึ่งโลหะกึ่งพลาสติกเพื่อให้มีความทนทานและมีน้ำหนักเบา ซึ่งถ้าเป็นโลหะอย่างเดียวก็จะมีน้ำหนักที่มากเกินไป

    Resolution (ขนาดของภาพ)
    จะเป็นตัวบอกความสามารถของกล้องอีกส่วนหนึ่งแม้ว่าจะไม่ส่วนที่สำคัญมากนักก็ตาม เนื่องจากขนาดของภาพที่ตัวกล้องทำได้ในหลายๆ ขนาดในกล้องแต่ละรุ่นอาจจะไม่เหมือนกัน ซึ่งตรงนี้ผู้ใช้งานอาจจะมองที่ตัวกล้องไม่เห็นต้องอาศัยอ่านจากคู่มือหรือทดลองถ่ายภาพด้วนตนเอง เช่น กล้อง 2 รุ่นมีความละเอียดในการถ่ายภาพที่ 8 ล้านพิกเซลเหมือนกัน แต่ขนาดของภาพที่สามารถเลือกได้จากกล้องไม่เหมือนกัน คือ บางรุ่นอาจจะเลือกได้ที่ 3264 x 2448, 2592 x 1944, 2048 x 1536, 1600 x 1200, 1280 x 960, 1024 x 768, 640 x 480 พิกเซล แต่บางรุ่นอาจจะเลือกได้ที่ 3264 x 2448, 2592 x 1944, 2288 x 1712, 2048 x 1536, 1600 x 1200, 1280 x 960, 1024 x 768, 640 x 480 พิกเซล (แต่ขนาดสูงสุดจะเท่ากัน 3264 x 2448 = 7990272) ซึ่งถ้าผู้ใช้งานที่จะเลือกซื้อต้องการขนาดภาพที่หลากหลายก็ให้เลือกกล้องที่สามารถให้ขนาดภาพได้มากๆ ก็ไม่ผิดอะไร

    Effective pixels (ความละเอียดที่ใช้งานจริง)
    ความละเอียดที่ใช้งานจริง เป็นความละเอียดของตัวเซ็นเซอร์ที่สามารถในการบันทึกภาพได้ ซึ่งกล้องแต่ละยี่ห้อนั้นก็จะมี Effective pixels (ความละเอียดที่ใช้งานจริง) แตกต่างกัน ยิ่งยี่ห้อใดที่มี Effective pixels มากก็จะทำให้สามารถถ่ายภาพได้ที่ขนาดมาก สำหรับความละเอียดตรงนี้ก็เป็นส่วนที่บอกถึงประสิทธิภาพของกล้องได้ และในการเลือกซื้อก็ควรที่จะดูตรง Effective pixels นี้ โดยกล้องที่มี Effective pixels ต่างกันก็จะมีราคาที่ต่างกันด้วย ซึ่ง Effective pixels ที่ระดับ 3.0 ล้านพิกเซล ราคาของกล้องก็จะอยู่ในช่วง ต่ำกว่า 10,000 ถึง 12,000 บาท ส่วนกล้องที่มี Effective pixels ที่ 4.0 ล้านพิกเซล ราคาของกล้องก็จะอยู่ในช่วง 12,000 ถึง 15,000 บาท ส่วนกล้องในระดับ 5.0 ล้านพิกเซล ราคาก็จะอยู่ในช่วง 15,000 ถึง 20,000 บาท ส่วนกล้องที่มีความละเอียดในระดับ 6.0 - 8.0 ล้านพิกเซล ราคาจะอยู่ในช่วง 25,000 - 40,000 บาท อีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่สังเกตก็คือ กล้องที่มีความละเอียดต่ำกว่า 8.0 ล้านพิกเซลที่สามารถจะต่อแฟลชภายนอกราคาก็จะแพงกว่าปกติประมาณ 3,000 บาท

    ในการเลือกพิจารณาความละเอียดของกล้องมาใช้งานก็ให้ดูลักษณะของการใช้งานเป็นหลัก ถ้าผู้ใช้งานต้องการที่จะถ่ายภาพเพื่อที่จะทำการส่งอีเมลล์ไปให้เพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปดูความละเอียดในระดับ 3 ล้านพิกเซลก็สามารถที่จะถ่ายได้ดี และราคาก็ไม่แพงจนเกินไป ถ้าต้องการนำไปอัดเป็นภาพ 4x6 นิ้ว หรือพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ Photo น่าจะใช้กล้องที่มีความละเอียดในระดับ 5 ล้านพิกเซลดีกว่า ส่วนกล้องในระดับ 8.0 ล้านพิกเซลนั้นก็ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของงานสูงๆ หรือไม่ก็ใช้กล้องดิจิตอลแบบ SLR ไปเลยก็จะได้ภาพที่สวยงามและมีความหลากหลายของงานที่ดีกว่า แต่กล้องดิจิตอลแบบ SLR นั้นที่ความละเอียดเท่ากับหรือใกล้เคียงกับกล้องแบบคอมแพคจะมีราคาแพงกว่ากันอยู่ประมาณ 2-3 เท่าตัวเลย

    Sensor photo detectors (ความละเอียดของเซ็นเซอร์)
    เป็นความสามารถของตัวเซ็นเซอร์ของตัวกล้องที่รับภาพได้ โดยความละเอียดนี้จะเป็นความละเอียดที่ผลิตออกมาจากโรงงาน และส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นเป็นความละเอียดที่ติดอยู่ข้างกล่อง เช่น 17.2 ล้านพิกเซล (16.6 ล้านพิกเซล - Effective pixels), 3.3 ล้านพิกเซล (3.2 ล้านพิกเซล - effective pixels) เป็นต้น

    Sensor type (ประเภทของเซ็นเซอร์)
    เซ็นเซอร์ เป็นส่วนที่มีความสำคัญสำหรับกล้องถ่ายภาพเป็นอย่างมากหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจหลักเลยก็ได้ เนื่องจากเซ็นเซอร์นี้จะเป็นตัวรับภาพและทำการแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลไปประมวลผลเก็บลงสื่อบันทึกข้อมูล โดยเซ็นเซอร์ก็จะเป็นตัวบอกถึงความละเอียดในการถ่ายภาพของตัวกล้องว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดเท่าไร สำหรับเซ็นเซอร์ที่นิยมใช้กันก็จะมีอยู่ 2 แบบคือ CCD และ CMOS ซึ่งก็มีข้อแตกต่างกันที่ว่า CCD จะกินไฟมากกว่า CMOS แต่ก็ให้ความละเอียดมากกว่า CMOS ถึงอย่างไรก็ตาม CMOS ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีความละเอียดมากขึ้นแต่ก็ยังมีใช้ในกล้องไม่มากนัก นอกจากของทาง Canon

    Sensor size (ขนาดของเซ็นเซอร์)
    เป็นขนาดของตัวรับภาพ ซึ่งจะมีการวัดตามแนวของเส้นทแยงมุม เช่น 1/3.2 นิ้ว (4.54 x 3.42 มม.), 1/1.8 นิ้ว (7.18 x 5.32 มม.) เป็นต้น ซึ่งจากตัวอย่างนั้น ขนาดของเซ็นเซอร์ 1/1.8 นิ้ว จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า 1/3.2 นิ้ว

    Sensor manufacturer (เซ็นเซอร์ที่ใช้งาน)
    ส่วนมากแล้ว เซ็นเซอร์ที่ใช้งานของกล้องยี่ห้อไหนก็จะเป็นเซ็นเซอร์ของยี่ห้อนั้นๆ ไปเลย เนื่องจากจะได้มีการรองรับการทำงานที่ดี เช่น กล้องของ Canon ก็ใช้เซ็นเซอร์ของ Canon, กล้องของ Nikon ก็ใช้เซ็นเซอร์ของ Nikon เป็นต้น แต่ก็อาจจะมีบางยี่ห้อที่ใช้เซ็นเซอร์ของยี่ห้ออื่นโดยส่วนมากนั้นก็จะเป็น กล้องแบบ OEM สะส่วนมาก

    ISO rating (ความไวแสง)
    ความไวแสงเป็นตัววัดประสิทธิภาพของกล้องอีกตัวหนึ่ง โดยในการเลือกซื้อก็ให้เลือกซื้อช่วงของ ISO ที่มีค่าให้ห่างกันพอสมควร เช่น 50 กับ 400 หรือ 100 กับ 800 เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วกล้องแบบคอมแพคนั้นจะมีค่าไวแสงอยู่ที่ Auto, 50, 100, 200, 400 ส่วนกล้องแบบ SLR นั้นค่าความไวแสงจะสามารถปรับได้ตามความต้องการ เช่น 100 - 1600 ครั้งละ 1/3 stops เป็นต้น ข้อดีของค่า ISO น้อยก็คือ จะทำให้สามารถถ่ายภาพได้คมชัดดีกว่า ISO สูงแต่ถ่ายภาพในที่มืดไม่ค่อยดีนัก ส่วนค่า ISO สูงก็จะมีส่วนดีที่ทำให้สามารถถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยได้ดีแต่ความคมชัดของ ภาพนั้นจะลดลงไป แต่กล้องในปัจจุบันนั้นก็ได้ทำการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Noise Reduction ขึ้นมาเพื่อที่จะแก้ปัญหาในส่วนนี้ แต่ระบบนี้ของกล้องแต่ละตัวก็จะมีการทำงานที่ไม่เหมือนกันแล้วแต่เทคโนโลยี ที่คิดค้นกันขึ้นมา

    Zoom wide - tele (W) - (T), Digital zoom (อัตราการซูม, ดิจิตอลซูม)
    การซูมของเลนส์ นั้นก็จะมีการซูมอยู่ 2 แบบ ก็คือการซูมแบบออฟติคอล และการซูมแบบดิจิตอล โดยการซูมแบบออฟติคอลนั้นก็จะเป็นการซูมจริงของตัวกล้องที่เกิดจากกระบวนของ เลนส์ ยิ่งกล้องที่มีความสามารถในการซูมออฟติคอลมากเท่าไรตัวกล้องก็จะมีราคาที่ สูงขึ้นมากไปด้วย ส่วนการซูมแบบดิจิตอลนั้นเป็นการซูมโดยใช้ตัวซอฟต์แวร์ขยายขึ้นมาอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมานั้นไม่ชัดเท่าไรนัก อาจจะไม่มีความจำเป็นมากนักโดยถ้าจะเลือกซื้อก็ให้เลือกซื้อการซูมแบบ ดิจิตอลน้อยๆ เอากล้องที่มีการซูมแบบดิจิตอลมากๆ จะเป็นการดี แต่ในการเลือกอัตราการซูมของกล้องก็จะต้องดูด้วยเนื่องเหล่าบรรดาผู้ผลิต นั้นอาจจะมีการแสดงค่าของการซูมรวมกันมาก็ได้ เช่น 30x ซึ่งอาจจะหมายถึง ซูมแบบออฟติคอลได้ 10x และซูมดิจิตอลได้ 3x หรืออาจจะเป็นซูมแบบออฟตอคอลได้ 6x และซูมดิจิตอลได้ 5x โดยทั้งสองกรณีนี้ก็สามารถที่จะรวมได้ 30x เหมือนกันแล้วเราจะเลือกอย่างไรล่ะ? ก็บอกได้เลยว่าให้เลือกกล้องที่มีความสามารถในการซูมแบบออฟติคอลให้มากๆ เข้าไว้ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกกล้องที่ซูมแบบออฟตอคอลได้ 10x และซูมดิจิตอลได้ 3x เนื่องจากการซูมแบบออฟติคอลนั้นก็จะทำให้ผู้ใช้งานนั้นจับภาพได้ความละเอียด ที่ชัดเจนกว่ารวมถึงสามารถจับภาพวัตถุที่อยู่ไกลๆ ได้ดีกว่าด้วย

    Image stabilization (ระบบป้องกันภาพสั่นไหว)
    เป็นระบบที่ช่วยในการถ่ายภาพเพื่อให้ภาพที่ออกมานั้นนิ่งและมีความแม่ยำในการถ่ายมากยิ่งขึ้นซึ่งระบบนี้ก็เป็นระบบที่คล้ายๆ กับกล้องวิดีโอ โดยถ้าเลือกซื้อกล้องที่มีระบบนี้ก็จะทำให้การถ่ายภาพง่ายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย
    จากรูปเป็นระบบ Anti Shake ของกล้อง DiMAGE A2 ที่มีการวาง CCD ให้เคลื่อนไหวได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
    Auto Focus, Manual Focus (โฟกัสอัตโนมัติ, แมนนวลโฟกัส)
    เป็นระบบที่ที่ช่วยให้ผู้ใช้กล้องสามารถถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น เนื่องจากตัวกล้องนั้นจะทำการค้นหาตำแหน่งของวัตถุและจับภาพเอง ซึ่งถ้าเป็นระบบโฟกัสอัตโนมัติก็จะเป็นการดีสำหรับผู้ใช้งานกล้องมือใหม่ หรือผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการใช้งาน และโดยส่วนมากแล้วกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นก็จะมีระบบ โฟกัสอัตโนมัติอยู่ด้วยแล้วทุกตัว ส่วนระบบแมนนวลโฟกัสนั้นก็จะเหมาะสำรับผู้ใช้งานที่ต้องการปรับการทำงาน ของกล้องที่มากกว่าปกติเพื่อให้ได้ภาพออกมาตามความต้องการ โดยระบบแมนนวลโฟกัสนั้นจะไม่มีมากับกล้องทุกรุ่นโดยเฉพาะกล้องราคาถูก ฉะนั้นในการเลือกซื้อก็จะต้องดูตามความเหมาะสมของการใช้งานด้วย

    Auto focus type (ประเภทของการโฟกัส)
    ส่วนนี้จะเป็นระบบของตัวกล้องที่จะเป็นส่วนช่วยให้การทำงานของโฟกัส ซึ่งเป็นระบบเชิงเทคนิคผู้ใช้งานอาจจะไม่ต้องสนใจมากก็ได้ในส่วนอีก แต่ถ้าคนที่เป็นมืออาชีพจะต้องให้ความสนใจเพราะจะหมายถึงคุณภาพและความแม่น ยำของภาพที่ออกมาด้วย

    Focus range (ระยะโฟกัส)
    ระยะโฟกัสนั้นส่วนมากแล้วจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ระยะการทำงานปกติ (Normal focus range) กับ ระยะมาโคร (Macro focus range) โดยระยะนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวเลนส์และระบบการทำงานของกล้อง โดยตรงนี้อาจจะไม่ต้องให้ความสนใจมากนักก็ได้ในส่วนของกล้องแบบคอมแพค แต่สำหรับกล้องแบบ SLR หรือ SLR-Like ก็ให้มามองในส่วนของมาโครแทนเนื่องจากจะทำให้สามารถ่ายภาพในระยะใกล้ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกล้องแบบ SLR ที่มีการถ่ายภาพแบบมาโครก็จะมีภาพแปลกๆ มาให้เห็นอยู่เสมอ

    White balance (ไวท์บาลานส์ หรือการปรับแสงขาว)
    ไวท์บาลานส์ นั้นเป็นส่วนช่วยให้ความถูกต้องของภาพมีมากยิ่งขึ้น โดยค่าไวท์บาลานส์ของกล้องแต่ล่ะรุ่นนั้นอาจจะให้มาไม่เหมือนกันซึ่งจะต้อง ไปลองที่ร้านเองหรือดูจากคู่มือก็ได้ ซึ่งถ้าไปดูที่ร้านก็ให้ดูจากเมนูของตัวกล้องว่ามีอะไรบ้าง เช่น Auto, Daylight, Incandescent, Fluorescent, Cloudy, Speedlight, Shade หรือ Manual preset อะไรแบบนี้ซึ่งกล้องที่มีค่าของไวท์บาลานส์ให้เลือกมากๆ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในการถ่ายภาพ ณ สถานที่ต่างๆ มากขึ้น

    Aperture range (รูรับแสง)
    เป็นช่องของตัวเลนส์ที่สามารถให้แสงผ่านเข้าไปในตัวกล้องได้ โดยค่ายิ่งมากก็จะรูรับแสงก็จะแคบ ในการเลือกซื้อก็ให้เลือกดูกล้องที่มีช่วงของรูรับแสงห่างกันสักหน่อย เช่น F2.4 - F8.0 กับ F3.5 - F8.0 ให้เลือกกล้องที่มี F2.4 - F8.0 จะดีกว่าเพราะให้ค่าของรูรับแสงที่กว้างกว่าคือ F2.4

    Shutter Speed (ความเร็วชัตเตอร์)
    ความเร็วชัตเตอร์ เป็นความเร็วในการเปิด-ปิดรูรับแสงตามช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 15 วินาที - 1/4000 วินาที หมายถึงมีช่วงระยะเวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์รับแสงนานสุดที่ 15 วินาที และมีช่วงระยะเวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์รับแสงเร็วที่สุดที่ 1/4000 วินาที สำหรับกล้องบางรุ่นจะมีฟังก์ชัน Bulb ซึ่งก็หมายถึงให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะกดชัตเตอร์ค้างไว้ตามความต้องการของตน เองได้ซึ่งถ้ากล้องมีฟังก์ชันนี้ก็จะเป็นประโยชน์มากสำรับการถ่ายภาพในเวลา กลางคืน โดยส่วนใหญ่แล้วกล้องแบบคอมแพคนั้นจะมีฟังก์ชันนี้บางรุ่นเท่านั้น แต่กล้องแบบ SLR จะมีฟังก์ชันนี้รวมอยู่ด้วย ฉะนั้นในการเลือกซื้อก็ให้ดูช่วงห่างของความเร็วต่ำสุดและสูงสุดให้ห่างกัน มากๆ จะเป็นการดี เช่น เช่น 15 วินาที - 1/4000 วินาที กับ 30 วินาที + Bulb - 1/8000 วินาที ก็ให้เลือกกล้องที่ความเร็วชัตเตอร์ 30 วินาที + Bulb - 1/8000 วินาที ดีกว่า

    Built-in Flash, External flash (แฟลชที่มาพร้อมตัวกล้อง, แฟลชภายนอก)
    ตัวอย่าง Flash Build-in ที่มากับตัวกล้อง
    ตัวอย่าง Flash ที่ใช้งานภายนอก
    แฟลชที่มาพร้อมตัวกล้อง นั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะสามารถช่วยในการถ่ายภาพในทีที่แสงน้อยได้ระดับหนึ่งแต่ อาจจะทำงานได้ไม่ดีนักสำหรับกล้องแบบคอมแพค แต่ถ้าถามว่าถ่ายแล้วใช้งานได้ไหม ก็บอกว่าได้ แต่ความสามารถของแฟลชที่มากับตัวกล้องนั้นจะสู้แฟลชภายนอกไม่ได้ เนื่องจากมีความสามารถในการทำงานที่ดีกว่า ซึ่งกล้องที่ใช้งานแฟลชภายนอกก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือกล้องแบบคอมแพคที่เป็นแบบกึ่ง Semi-Pro กับกล้องดิจิตอล SLR แต่ส่วนใหญ่แล้วแฟลชภายนอกจะนิยมใช้งานกับกล้องดิจิตอลแบบ SLR มากกว่าเพราะเมื่อมองลักษณะการใช้งานโดยรวมจะให้ความคุ้มค่าที่มากกว่า ส่วนการดูในส่วนนี้ก็ให้ดูระยะการทำงานของแฟลชว่าอยู่ในช่วงใดให้เลือกช่วง ที่มากๆ ไว้ก่อน

    สำหรับแฟลชที่ใช้งานภายนอกนั้นก็จะมีราคาและความสามารถที่แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ และอาจจะไม่สามารถที่จะนำมาใช้งานด้วยกันได้ เช่น แฟลชของ Nikon ก็จะใช้งานกับกล้องของ Nikon เป็นต้น อีกอย่างหนึ่งสำหรับกล้องที่ใช้งานแฟลชภายนอกก็จะมีงบประมาณที่สูงกว่ากล้องแบบคอมแพคอยู่มาก ซึ่งราคาของแฟลชนั้นอาจจะซื้อกล้องแบบคอมแพคได้อีกตัวหนึ่งเลย

    Flash modes (โหมดการทำงานของแฟลช)
    โหมดการทำงานของแฟลช นี้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือโหมดการทำงานของแฟลชแบบที่มากับตัวกล้อง กับโหมดการทำงานของแฟลชที่เป็นแฟลชภายนอก ซึ่งอาจจะมีการทำงานที่ต่างๆ หรือเหมือนกันก็ได้ ซึ่งในส่วนนี้ก็ไม่ต้องให้ความสำคัญมากนัก ยกเว้นคนที่ใช้งานกล้องดิจิตอล SLR ที่อาจจะมีลักษณะใช้งานแทนกล้องฟิล์มเพื่อให้ภาพที่ถ่ายนั้นออกมาดี มีความคมชัด มีการให้แสงเงาที่ดี ตัวอย่างโหมดการทำงานของแฟลชที่มีก็คือ Auto, On, Off, Manual (Red Eye On/Off)

    Exposure compensation (การปรับชดเชยแสง)
    การปรับชดเชยแสง เป็นอีกส่วนหนึ่งในความสามารถของกล้องซึ่งก็มีส่วนที่ช่วยให้การถ่ายภาพนั้น ได้ภาพออกมาดียิ่งขึ้น เนื่องจากสภาพแสงหรือบรรยากาศในการถ่ายภาพขณะนั้นไม่เหมาะสมหรือไม่ได้ดังใจ ผู้ใช้งานก็สามารถที่จะปรับชดแสงได้ โดยส่วนมากแล้วจะมีการปรับค่าในทาง + และ - ซึ่งถ้าปรับไปในทาง + ก็จะทำให้ความสว่างของภาพมากเกินกว่าความจริงหรือที่เรียกกันว่า Over ถ้าปรับไปในทาง - ก็จะทำให้ความสว่างของภาพลดลงกว่าภาพจริงหรือที่เรียกว่า Under โดยส่วนมากแล้วกล้องแบบคอมแพคทั่วไปจะมีการปรับค่าชดแสงอยู่ที่ -2EV ถึง +2EV ครั้งละ 1/3EV แต่สำหรับกล้อง SLR นั้นจะสามารถปรับได้มากกว่าเช่น -3EV ถึง +3EV ครั้งละ 1/3EV หรือ 1/2EV

    Metering (การวัดแสง)
    การวัดแสง เป็นลักษณะการทำงานของกล้องเพื่อทีจะใช้ในการวัดแสงที่ตกกระทบกับวัตถุ ซึ่งก็จะมีผลกับภาพที่ออกมาด้วย ซึ่งถ้าใครที่ชอบถ่ายในโหมด Auto หรือ อัตโนมัติอาจจะไม่ต้องสนใจเพราะตัวกล้องนั้นจะจัดการให้หมดแล้ว แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพแบบแมนนวลก็จะต้องใช้การวัดแสงแบบปรับแสงหรือแมนนวล ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการวัดแสงแบบ Evaluative (แบ่งพื้นที่), Center Weighted (เฉลี่ยหนักกลาง), Spot (เฉพาะจุด)

    Continuous Drive (การถ่ายภาพต่อเนื่อง)
    การถ่ายภาพต่อเนื่อง อาจจะไม่มีความจำเป็นสำหรับคนที่กดแล้วถ่ายหรือใช้งานในโหมด Auto แต่สำหรับคนที่ต้องการความแปลกใหม่ของภาพอาจจะมีความจำเป็นเพราะจะได้ภาพ เป็น Shot-Shot ไปที่มีความต่อเนื่องของภาพ ซึ่งถ้ามีความจำเป็นที่ต้องการใช้งานก็ให้เลือกที่มีความเร็วในการทำงานที่ สูงๆ หน่อยและสิ่งที่ต้องทราบก็คือ การถ่ายภาพต่อเนื่องนี้จะมีการเก็บภาพที่ถ่ายไว้ที่หน่วยความจำของตัวกล้อง ก่อนจากนั้นก็ทำการบันทึกลงสื่อบันทึกข้อมูลในภายหลังเพื่อความเร็วในการทำ งาน

    Movie Clips (การถ่ายภาพวิดีโอ)
    การถ่ายภาพวิดีโอ ของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าไรนัก เพราะความสามารถนั้นไม่เท่ากับกล้องถ่ายภาพวิดีโอ แม้ว่าจะสามารถถ่ายภาพได้ช่วยเลาหนึ่งก็ตาม และถ้าจะต้องการความสามารถนี้ในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นก็ให้เลือกกล้องที่สามารถถ่ายภาพได้ขนาดสูงๆ เช่น ขนาด 640x480 พิกเซล และระยะเวลาในการถ่ายก็ควรเลือกแบบไม่จำกัดเวลาเพราะจะได้ไม่ต้องมากดถ่ายบ่อย

    Storage types (สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้งาน)
    สื่อบันทึกข้อมูลรูปแบบต่างๆ

    Compact Flash (CF) Secure Digital Card (SD) xD Picture Card Smart Media (SM)
    Multi Media Card (MMC) Memory Stick Pro Memory Stick Pro Duo Memory Stick
    สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้งานเป็นส่วนที่ผู้ใช้งานนั้นต้องให้ความสำคัญสักเล็กน้อย เนื่องจากก่อนที่จะเลือกซื้อกล้องก็ให้หันกลับมามองอุปกรณ์ไอทีของเราที่ใช้อยู่ก่อนว่าใช้สื่อบันทึกข้อมูลชนิดใด และก็ให้ซื้อกล้องที่ใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่ตรงกันมาใช้งานจะดีกว่า เพราะจะทำให้เกิดความสะดวกและลดต้นทุนไปได้ส่วนหนึ่ง แต่ส่วนนี้ก็ไม่ได้กำจัดอยู่แค่ตรงนี้โดยถ้าไปซื้อกล้องแล้วถูกใจตรงกับความต้องการ สื่อบันทึกข้อมูลอาจจะไม่ต้องตรงกับของที่มีใช้อยู่แล้วก็ได้ โดยสื่อบันทึกข้อมูลที่เห็นๆ กันอยู่ก็จะมี Compact Flash (Type I or II), SD card, MMC Card, Smart Media, Memory Stick, xD Picture Card

    Viewfinder (ช่องมองภาพ)
    ช่องมองภาพเป็นส่วนที่ใช้การมองภาพโดยจะมีลักษณะที่คล้ายๆ กับกล้องฟิล์ม ซึ่งในปัจจุบันนี้กล้องได้มีการพัฒนาความสามารถไปมากโดยช่องมองภาพนี้ก็จะมี การทำเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ ผู้ใช้งานจะเห็นลักษณะการทำงานเหมือนกับเห็นที่จอ LCD เลยก็จะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกและช่วยประหยัดพลังงานด้วยเนื่องจากไม่ ต้องเปิดจอ LCD มาดู และก็มักจะเรียกการทำงานแบบนี้ว่า EVF ซึ่งกล้องส่วนมากที่จะมีการทำงานแบบนี้จะเป็นกล้องดิจิตอลแบบ SLR เสียเป็นส่วนมาก แต่กล้องแบบ SLR-Like ก็มีเหมือนกัน

    LCD (จอ LCD)
    ตัวอย่างจอ LCD ที่อยู่ทางด้านหลังกล้อง
    Sony DSC-F828

    ตัวอย่างจอ LCD ที่สามารถพับและหมุนบิดได้
    Konica Minolta DiMAGE A200
    จอ LCD เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้งานนั้นมองเห็นภาพที่ต้องการจะถ่ายรวมถึงเมนูหรือคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการปรับการทำงาน ในการเลือกซื้อบอกได้เลยว่าจอ LCD นี้ต้องไปเห็นไปจับที่ร้านอย่างเดียวเลย เพราะจะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อเห็นด้วยตาว่าภาพที่เห็นจากจอ LCD นี้ชัดเจนมากน้อยเพียงใด ยิ่งจอ LCD ที่มีขนาดใหญ่และมีความคมชัดมากเท่าไรราคากล้องก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งปกติหน้าจอก็จะอยู่ที่ 1.5 นิ้ว

    I/O Port (พอร์ตการเชื่อมต่อภายนอก)
    พอร์ตการเชื่อมต่อภายนอก นั้นก็มีความสำคัญจริงๆ อยู่ 1 พอร์ต ก็คือ พอร์ตที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะมีอยู่ 2 พอร์ตก็คือ USB กับ Firewire (IEEE 1394) สำหรับกล้องแบบคอมแพคนั้นจะมีพอร์ตการเชื่อมต่อแบบ USB ถ้าซื้อก็ให้ดูด้วยว่าลองรับ USB 2.0 หรือไม่ ส่วนพอร์ตแบบ Firewire (IEEE 1394) นั้นจะมีการเชื่อมต่ออยู่ในกล้องแบบ SLR บางรุ่นบางยี่ห้อเท่านั้น แต่ส่วนที่เหมือนกันของทั้งกล้องคอมแพคและ SLR ก็คือ จะมีพอร์ต Video out สำหรับต่อกับโทรศัพท์ และ สาย AC Adapter สำหรับเสียบใช้ไฟภายนอก

    Uncompressed, Compressed format (โหมดการบันทึกภาพ)

    ในการบันทึกภาพของกล้องนั้นก็มีอยู่หลายๆ แบบแต่ก็ไม่มากนักซึ่งกล้องบางรุ่นอาจจะใช้รูปแบบของการบันทึกตามโหมดขนาด ของรูปภาพก็ได้โดยโหมดการบันทึกภาพที่นิยมใช้กันก็จะมีแบบ JPEG, TIFF และแบบ RAW โดยแต่ละแบบนั้นก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกโดยซึ่งไฟล์แบบ JPEG นั้นก็จะมีขนาดที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับ TIFF และแบบ RAW แต่การบันทึกข้อมูลข้อแบบ RAW นั้นก็มีข้อดีที่สามารถนำภาพนั้นมาตกแต่งแก้ไขหรือดัดแปลงในส่วนของค่าต่างๆ ได้ เช่น ความเพี้ยนของสีหรือความไม่คมชัดของภาพ แต่ในขณะเดียวกันกล้องราคาต่ำมักจะไม่มีโหมดการบันทึกภาพแบบนี้มาให้ ซึ่งในการถ่ายภาพนั้นก็จะต้องดูความจำเป็นด้วยเราต้องการที่จะบันทึกภาพแบบ ไหน

    Battery (แบตเตอรี่ที่ใช้งาน)
    ตัวอย่างกล้องที่ใช้แบตเตอรี่แบบอัลคาไลน์ ขนาด AA
    Canon PowerShot A520 Fuji FinePix E550

    ตัวอย่างกล้องที่ใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออน
    Panasonic DMC-FZ5 Canon EOS 350D


    แบตเตอรี่ที่ใช้งานกับกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีอยู่ 3 แบบ คือ แบบลิเทียมไอออน, แบบ AA และแบบ AAA ซึ่งแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนนั้นจะเป็นแบตเตอรี่แบบเฉพาะสามารถใช้งานได้ เฉพาะรุ่นนั้นเท่านั้นไม่สามารถที่จะใช้งานกับรุ่นอื่นได้และมีราคาที่แพง แต่สามารถใช้งานได้นานกว่า ส่วนแบบ AA และแบบ AAA นั้นก็จะมีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งก็ขอแนะนำให้ใช้แบบ Ni-MH จะดีกว่าเพราะสามารถชาร์จไฟได้ถึงแม้ว่าจะมีราคาที่แพงกว่าอัลคาไลน์แต่ก็มี ราคาที่ถูกกว่าแบบลิเทียมไอออนแต่ก็จะมีข้อเสียก็คือ จะทำให้ตัวกล้องนั้นมีน้ำหนักกว่ากล้องที่ใช้แบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออน

    Dimensions, Weight (ขนาด น้ำหนัก)
    ขนาด น้ำหนัก มีกล้องจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เหมือนกัน เนื่องจากต้องการให้กล้องถ่ายภาพของตนเองสามารถที่ใช้งานพร้อมกับสามารถที่ จะพกพาได้สะดวก ซึ่งตัวกล้องนั้นก็จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 120 กรัมถึง 1.2 กิโลกรัม เมื่อกล้องที่มีน้ำหนักเบานั้นก็จะมีขนาดที่เล็กมีความสะดวกในการพกพาหรือ ใช้งานแต่ในขณะเดียวกันฟังก์ชั่นต่างๆ ก็อาจจะมีน้อยรวมถึงปุ่มใช้งานต่างๆ ก็อาจจะต้องตัดออกไปเพื่อให้เกิดความง่ายและสะดวกแต่ในขณะเดียวกล้องที่มี น้ำหนักมากขึ้นมาหน่อยก็อาจจะมีฟังก์ชันต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นมามากหน่อยแต่อาจจะทำให้พกพาไม่สะดวกหนักเนื่องด้วยน้ำหนักของ ตัวกล้องเองและพลังงานที่ใช้งานด้วย กอปรกับขนาดและน้ำหนักนั้นก็จะทำให้มีลักษณะของการออกแบบนั้นแตกต่างกันไป ซึ่งก็จะทำให้เกิดลักษณะของตัวกล้องต่างๆ ออกมาเพื่อให้ดูสวยงามมากที่สุด

    Menu (ลักษณะของเมนู)
    ในการเลือกใช้กล้องส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเหมือนกันก็คือเมนูเนื่องจากเป็น ส่วนหลักหรือส่วนพื้นฐานที่จะใช้ในการปรับการทำงานต่างๆ ของตัวกล้องเช่น ความละเอียด, ลักษณะการถ่ายภาพ, โหมดการถ่ายภาพ, แฟลช หรือรูรับแสง และในขณะเดียวกันก็จะเกี่ยวโยงถึงการดูภาพที่ถ่ายไปแล้วด้วย ซึ่งก็ไม่ใช่ว่ากว่าจะถ่ายภาพได้ต้องมีการปรับโน่นปรับนี่ต่างๆ มากมาย ในส่วนของตรงนี้ก็จะต้องไปลองสัมผัสหรือใช้งานที่ร้านดูว่าลักษณะของเมนู ของกล้องแต่ล่ะตัวนั้นเป็นอย่างไร แต่สำหรับเมนูที่มีลักษณะโดดเด่นที่สุดของกล้องก็คือการดูภาพ (playback) ซึ่งจะต้องทำให้ง่ายหรือใช้ขั้นตอนน้อยที่สุดในการทำงานโดยถ้าปุ่มดูภาพใช้ งานยากแล้วปุ่มการทำงานอื่นๆ ก็คงจะไม่ต้องพูดถึงว่าจะเป็นอย่างไร และตัวเมนูนั้นต้องครอบคลุมการทำงานในทุกๆ อย่างตัวกล้องด้วย
    ตัวอย่างเมนูการใช้งานของกล้อง
    Canon PowerShot SD500 Nikon D50


    ทิปเล็กน้อยก่อนเลือกซื้อ
    จะเห็นได้ว่าสเปคของตัวกล้องนั้นมีมากมายก็ขอให้ศึกษารายละเอียดต่างๆ ก่อนที่จะซื้อและดูให้รอบคอบ ซึ่งเมื่อพร้อมที่จะซื้อกล้องกันแล้วก็ขอสรุปทิปเล็กๆ น้อยๆ เพื่อที่จะได้เป็นแนวในการเลือกซื้อดังนี้
    • ความละเอียดตรงตามความต้องการใช้งาน - กล้องระดับ 2 ล้านพิกเซลนั้นอาจจะไม่ใช่กล้องที่หลายๆ คนต้องการแต่มันก็เป็นกล้องที่มีราคาถูก และใช้งานง่าย แต่ถ้าต้องการนำมาพิมพ์ภาพขนาดใหญ่สัก 8x10 นิ้วกล้องระดับ 3 ล้านพิกเซลอาจจะเหมาะสมกว่าหรือกล้องระดับ 4-5 ล้านพิกเซลก็จะให้ภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าและเกิดความผิดพลาดน้อยกว่าด้วย
    • มองที่แบตเตอรี่และแท่นชาร์จ - ในส่วนนี้จะเป็นต้นทุนระยะยาวของการใช้งานกล้องถ่ายภาพซึ่งกล้องบางรุ่น ใช้แบบ AA หรือบางรุ่นใช้แบบเฉพาะก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันแต่แนะนำให้หาแบตเตอรี่ที่ สามารถชาร์จได้มาใช้ก็จะเป็นการประหยัดต้นทุนไปได้มากหรืออาจจะมีอย่างน้อย สัก 2 ชุดก็ได้เพื่อที่จะเวลาหมดชุดหนึ่งชาร์จไว้อีกชุดหนึ่งนำไปใช้งานสลับกันก็ จะได้ไม่เสียเวลา
    • การซูมแบบออฟติคอล - ตัวกล้องน่าจะสามารถทำการซูมแบบออฟติคอลได้อย่างน้อย 2x เพื่อให้การถ่ายภาพนั้นมีความคมชัดมากขึ้นซึ่งโดยมากแล้วกล้องส่วนใหญ่จะให้ การซูมแบบดิจิตอลมาซึ่งผลของการซูมแบบดิจิตอลนี้ให้คุณภาพของภาพออกมาสู้การ ซูมแบบออฟติคอลไม่ได้
    • ระบบช่วยโฟกัสในสภาวะแสงน้อย - กล้องถ่ายภาพบางรุ่นจะมีในส่วนนี้เพื่อที่จะทำให้การถ่ายภาพนั้นง่ายขึ้นดัง นั้นระบบนี้จึงมีความสำคัญเมื่อถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อยหรือในเวลากลางคืน
    • ดูให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานสื่อภายนอกได้ - กล้องบางรุ่นนั้นจะมีหน่วยความจำภายในมาให้แล้ว โดยที่ไม่ต้องใช้งานสื่อบันทึกข้อมูลภายนอกทำให้เกิดความสะดวกอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันอาจจะไม่สามารถใช้สื่อบันทึกข้อมูลภายนอก ซึ่งอาจจะทำให้การถ่ายภาพนั้นถ่ายได้ไม่มากนักหรือจำกัดจำนวนเกินไป ดังนั้นให้ดูก่อนว่ามีช่องต่อสื่อข้อมูลภายนอกหรือไม่และเป็นแบบใดเพื่อที่ จะได้เลือกซื้อให้ถูกตามความต้องการ
    • หลีกเลี่ยงกล้องที่ใช้ FDD หรือ compact discs ในการบักทึกข้อมูล - ในส่วนนี้ไม่ได้บักคับแต่เป็นการแนะนำซึ่งแม้ว่า FDD หรือ CD จะมีราคาที่ถูกและประหยัดก็ตามแต่สื่อเหล่านี้ไม่สามารถที่จะบันทึกจำนวนภาพจำนวนมากๆ ได้และบันทึกภาพได้ที่ความละเอียดไม่สูงมากนักกอปรกับมีการทำงาที่ช้ากว่าสื่อบันทึกข้อมูลแบบอื่นๆ แต่มีข้อดีคือค่าใช้จ่ายต่างๆ จะถูกกว่าสื่อบันทึกข้อมูลแบบอื่นๆ
    • ลองใช้ก่อนซื้อ - ของไม่ได้ดูไม่ได้เห็นไม่ได้จับอย่าซื้อ ถึงแม้ว่าเราจะมีข้อมูลมากแค่ไหนก็ตามแต่ถ้าได้ไปสัมผัสหรือจับของจริงลอง เล่นสักครั้งสองครั้งก็จะเป็นส่วนช่วยให้การตัดสินใจในการเลือกทำได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถที่ใช้เทียบกับรุ่นอื่นๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งที่น่าจะลองก็มีช่วงเวลาของการถ่ายภาพหลังจากกดชัตเตอร์ไปแล้วใช้ ระยะเวลานานหรือไม่, ทดลองการซูมว่าสามารถทำได้ดีเพียงใดทำได้นุ่มนวลรวดเร็วหรือไม่, การหาจุดโฟกัสของภาพทำได้รวดเร็วแค่ไหน และจอ LCD มีความคมชัดและใช้งานได้ในสถานที่ต่างๆ มากน้อยเพียงใด
    • ดูซอฟต์แวร์ที่ให้มาพร้อมตัวกล้อง - ในส่วนนี้ก็จะเป็นประโยชน์ในการแต่งภาพหรือแก้ไขภาพให้ได้ตามความต้องการโดย ที่ไม่ต้องไปหาซื้อซอฟต์แวร์เพิ่มเติมอย่าง Adobe Photoshop Elements และ Ulead PhotoImpact
    • จอ LCD ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกจอที่มีความคมชุดสูงๆ ดูแล้วสบายตา และควรจะมีช่องมองภาพแบบ viewfinder เพื่อที่จะช่วยประหยัดพลังงานของตัวกล้องได้
    • ลักษณะของการถ่ายภาพเคลื่อนไหว - ในส่วนนี้ก็ไม่ต้องไปให้ความสำคัญมากนักหรืออาจจะมองเลยผ่านไปก็ได้มีก็ดี ไม่มีก็เฉยๆ เนื่องจากการถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องถ่ายภาพภาพนิ่งนั้นค่อนข้างที่จะมี การจำกัดอยู่มากซึ่งถ้าคิดจะถ่ายภาพเคลื่อนไหวในลักษณะของวิดีโอให้ไปซื้อ กล้องแบบวิดีโอจะดีกว่า
    • เลือกสื่อบันทึกข้อมูลที่จะใช้งาน - สื่อบันทึกข้อมูลนี้ก็เปรียบเสมือนฮาร์ดดิสก์ที่บันทึกข้อมูลของเครื่อง คอมพิวเตอร์เนื่องเป็นส่วนที่เก็บข้อมูลภาพต่างๆ ก่อนที่จะโอนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่ออื่นๆ ซึ่งสื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถอ่านเขียนได้เร็วก็จะช่วยประหยัดเวลาในการทำ งานลงไปได้มากเลยทีเดียว
    ที่มา :http://www.buycoms.com/buyers-guide/digital-camera/index.asp
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น